2.ประเพณีไทย2ปะเพณี
-ประเพณีบุญเบิกฟ้า
จังหวัดมหาสารคาม
“ประเพณีบุญเบิกฟ้า ช่วงวันขึ้น ๓ ค่ำ
เดือน ๓ หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต ชาวนาอีสานตอบแทนผืนแผ่นดินทำกิน
โดยการใช้ปุ๋ยคอกทำจากมูลสัตว์กลับคืนสู่ผืนดินให้มีความอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง
อีกทั้งสายฝนแรกของปีก็กำลังจะมา ฟ้ากำลังจะร้อง
เมื่อมาทิศใดก็จะทำนายความอุดมสมบูรณ์ในปีนั้นๆ
ไปตามความเชื่อดั้งเดิม”
ชาวนาใช้ประโยชน์จากพื้นดินมายาวนาน ตลอดระยะเวลาการเพาะปลูก ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นดินได้สูญสลายไป เมื่อถึงช่วงเก็บเกี่ยว
เมล็ดข้าวที่เติบโตจนได้สีทองล้วนเป็นสิ่งที่ธรรมชาติได้มอบให้
ซึ่งชาวนาต่างรู้และสำนึกในบุญคุณของผืนแผ่นดิน ด้วยการคืนธาตุ คืนอาหารเป็นการตอบแทน
อาการที่ว่าก็คือปุ๋ยนั่นเอง
เดือน ๓ เดือนมหัศจรรย์ของชาวอีสาน นอกจากเป็นเดือนที่อุดมสมบูรณ์แล้วยังเป็นเดือนเริ่มต้นฤดูฝน
ซึ่งจะมีเสียงฟ้าร้อง และมีความเชื่อว่าในวันขึ้น
๓ ค่ำ เดือน ๓ นี้ เมื่อมีฟ้าร้องมาจากทิศทางใดจะเป็นสัญญาณบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของฝนในปีนั้นๆ
การทำนายดังกล่าวนับว่ามีความแม่นยำจนมีการจดบันทึกคำทำนายเป็นกลอนไว้เป็นหลักฐาน
ชื่อว่า “โสลกฝน”
ประเพณีบุญเบิกฟ้าเริ่มต้นเมื่อปี
พ.ศ.๒๕๒๘ ชาวบ้านแบก ตำบลนาทอง
อำเภอเชียงยืน ได้ฟื้นฟูประเพณีหาบฝุ่นปุ๋ยคอกไปใส่แปลงนาทุกครัวเรือนเพื่อเป็นการฟื้นฟูประเพณีบำรุงดินแบบอีสานจากความร่วมมือของชุมชนปรากฏว่าผลผลิตข้าวในปีนั้นเพิ่มจำนวนขึ้นเท่าตัว
ชาวบ้านจึงจัดงานประเพณีนี้เรื่อยมา และกลายเป็นงานประเพณีประจำปีของจังหวัดมหาสารคาม
ซึ่งจัดอย่างยิ่งใหญ่ตลอดระยะเวลา ๗ วัน ๗ คืน
เมื่อถึงกำหนดงานชาวบ้านต่างช่วยกันหาบปุ๋ยคอกไปใส่ลงในแปลงนา ควบคู่กับพิธีบูชาพระแม่ธรณี ตั้งเครื่องสังเวย เหล้าไห ไก่ต้ม ของหวาน กล้วย
อ้อย ตามรูปแบบพิธีกรรมดั้งเดิม
ซึ่งนับเป็นประเพณีที่สมบูรณ์ และสะท้อนภาพวิถีชีวิตของชาวอีสานอย่างแท้จริง
– วันเวลาการจัดงาน : วันขึ้น ๓
ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี
– สถานที่จัดงาน : สนามหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองมหาสารคาม
– สถานที่จัดงาน : สนามหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองมหาสารคาม
- ประเพณีบุญบั้งไฟ
จังหวัดยโสธร
“นิทานพื้นบ้านเล่าสืบต่อกันมา ผาแดงนางไอ่
พระยาคันคาก ล้วนกล่าวถึงการจุดบั้งไฟถวายแด่พญาแถน
เพื่อเป็นการขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล หลาบสิบปีได้สืบทอดงานประเพณีบุญบั้งไฟ
ความสวยงามของการตกแต่งขบวนที่ยิ่งใหญ่ ควันสีขาวพุ่งทะยานไปตามบั้งไฟแสนที่ขึ้นสู่ท้องฟ้า
ตามมาด้วยเสียงดังสนั่น และเสียงลุ้นของผู้คน
สุดเร้าได้ทุกครั้งไป”
เมื่อถึงเดือน ๖
ชาวอีสานจะมีการจัดงานประเพณีที่สำคัญ หนึ่งในฮีตสิบสอง จากความเชื่อในการบูชาพญาแถนให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล
พร้อมเข้าสู่การทำนาครั้งใหม่ และกล่าวกันว่าหากหมู่บ้านใด
ชุมชนไหน มิได้จัดงานประเพณีนี้ขึ้นในปีนั้นๆ
ฝนก็จะไม่ตก พื้นดินก็จะแห้งแล้งไม่สามารถทำการเพาะปลูกใดๆ
ได้
เมื่อถึงวันงาน ก่อนการประกวดประชันบั้งไฟประเภทต่างๆ
จะมีขบวนแห่บั้งไฟตกแต่งด้วยสีสันที่สวยงาม ตามมาด้วยเสียงดนตรีบรรเลงให้จังหวะในการเซิ้งบั้งไฟ เซิ้งกระติบ ฟ้อนขาลาย ที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวอีสาน และอีกหนึ่งสีสัน
คือ ขบวนแห่การแต่งกายล้อเลียนบุคคล
ผู้ชายบางคนสวมใส่ชุดหญิงสาวออกอากัปกิริยาอ่อนช้อย สร้างเสียงหัวเราะ และความสนุกสนานให้ผู้พบเห็น
การแข่งขันบั้งไฟของยโสธรมีการแบ่งเป็นประเภทแฟนซี บั้งไฟขนาดเล็กมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒ นิ้ว
บรรจุดินประสิวไม่เกิน ๔ กิโลกรัม เน้นที่ความสวยงาม
รวมทั้งลีลา เมื่อจุดขึ้นฟ้าบางทีมอาจมีร่มหลากสีกางออก
หรือมีเสียงประกอบ และประเภทบั้งไฟแสนซึ่งใช้แข่งขันกัน
โดยนับจากเวลาที่บั้งไฟขึ้นลอยอยู่บนท้องฟ้า บั้งไฟของใครขึ้นนานที่สุด สังเกตจากหางที่ตกลงสู่พื้นก็เท่ากับว่าขึ้นได้สูง
และได้รับชัยชนะในที่สุด
เมื่อถึงเวลาแข่งขัน แต่ละทีมตระเตรียมความพร้อมก่อนจุดบั้งไฟให้ทะยานออกจากฐาน
พร้อมด้วยเสียงบั้งไฟแหวกอากาศที่แสดงถึงความเร็ว ทิ้งควันสีขาวไปตามเส้นทางสู่ท้องฟ้า ของใครยิ่งสูง
อยู่บนฟ้าได้นาน ก็จะได้รับชัยชนะ
ส่วนทีมที่พ่ายแพ้ บั้งไฟระเบิด
หรือไม่ขึ้นก็ต้องถูกกระชากลากลงไปในบ่อโคลนเป็นที่สนุกสนาน
อันเป็นการสานความสามัคคีระหว่างชุมชน และสร้างความประทับใจให้แก่ผู้เข้าร่วมงานทุกครั้งไป
– วันเวลาการจัดงาน : ช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี
– สถานที่จัดงาน : ณ สวนสาธารณะพญาแถน และเขตเทศบาลเมืองยโสธร
– สถานที่จัดงาน : ณ สวนสาธารณะพญาแถน และเขตเทศบาลเมืองยโสธร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น